วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คณะผู้จัดทำ

จัดทำโดย

1.นายสุวินัย            กกขุนทด    เลขที่  8
2. นายณัฐพงษ์       ห้องแก้ว     เลขที่  28
3. นายอธิปัตย์        ศิริเดช        เลขที่   33
4. นายสถาพร         อำพันธ์      เลขที่   36
5.  นายนครินทร์     นราสูงเนิน  เลขที่   38

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Map
Image3 Image4 Image5 Image6
Image7Image8Image9Image10
Image11 Image12Image13Image14


ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิอากาศ

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
  1. ป่าเบญจพรรณแล้ง ลักษณะของป่าชนิดนี้อยู่ทางด้านทิศเหนือ ซึ่งมีระดับความสูงระหว่าง 200-600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วยไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ เช่น มะค่าโมง ประดู่ ตะแบก ตะเคียนหนู แดง นนทรี ซ้อ ปออีเก้ง สมอพิเภก ตะคล้ำ เป็นต้น พืชชั้นล่างมีไม้ไผ่และหญ้าต่าง ๆ รวมทั้งกล้วยไม้ด้วย ในฤดูแล้งป่าชนิดนี้จะมีไฟลุกลามเสมอ และตามพื้นป่าจะมีหินปูนผุดขึ้นอยู่ทั่ว ๆ ไป
  2. ป่าดงดิบแล้ง ลักษณะป่าชนิดนี้มีอยู่ทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นที่ราบลูกเนินในระดับความสูง 200-600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ไม้ชั้นบน ได้แก่ ไม้ยางนา พันจำ เคี่ยมคะนอง ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะแบก สมพง สองสลึง มะค่าโมง ปออีเก้ง สะตอ ซาก และคอแลน เป็นต้น ไม้ยืนต้นชั้นรองมี กะเบากลัก หลวงขี้อาย และกัดลิ้น เป็นต้น พืชจำพวกปาล์ม เช่น หมากลิง และลาน พืชชั้นล่างประกอบด้วยพืชจำพวกมะพร้าว นกคุ้ม พวกขิง ข่า กล้วยป่าและเตย เป็นต้น
  3. ป่าดงดิบชื้น ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าที่อยู่ในระดับความสูง 400-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล จะมีชนิดไม้คล้ายคลึงกับป่าดงดิบแล้ง เพียงแต่ว่าไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ยางกล่อง ยางขน ยางเสี้ยน และกระบาก โดยเฉพาะพื้นที่ถูกรบกวนจะพบ ชมพู่ป่าและกระทุ่มน้ำขึ้นอยู่ทั่วไป พรรณไม้ผลัดใบ เช่น ปออีเก้ง สมพง และกว้าว แทบจะไม่พบเลย บริเวณริมลำธารมักจะมีไผ่ลำใหญ่ๆ คือ ไผ่ลำมะลอกขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม นอกจากไม้ยางแล้วไม้ชั้นบนชนิดอื่น ๆ ยังมี เคี่ยมคะนอง ปรก บรมือ จำปีป่า พะดงและทะโล้ ไม้ชั้นรอง ได้แก่ ก่อน้ำ ก่อรัก ก่อด่าง และก่อเดือย ขึ้นปะปนกัน
  4. ป่าดิบเขา ป่าชนิดนี้เกิดอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นบนภูเขาสูง ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพป่าแตกต่างไปจากป่าดงดิบชื้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่เลย พรรณไม้ที่พบเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น พญาไม้ มะขามป้อมดง ขุนไม้ และสนสามพันปี และ ไม้ก่อชนิดต่าง ๆ ที่พบขึ้นในป่าดงดิบชื้น นอกจากก่อน้ำและก่อต่าง ๆ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-900 เมตรเท่านั้น ตามเขาสูงจะพบต้นกำลังเสือโคร่งขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ไม้ชั้นรอง ได้แก่ เก็ดล้านส้มแปะ แกนมอ เพลาจังหัน และหว้า พืชชั้นล่าง ได้แก่ ต้างผา กำลังกาสาตัวผู้ กูด และกล้วยไม้ดิน
  5. ทุ่งหญ้าและป่ารุ่นหรือป่าเหล่า ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นผลเสียเนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอยในอดีตก่อนมีการจัดตั้งป่าเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติได้มีราษฎรอาศัยอยู่และได้แผ้วถางป่าทำไร่ เมื่อมีการอพยพราษฎรลงไปสู่ที่ราบ บริเวณไร่ดังกล่าวถูกปล่อยทิ้ง ต่อมามีสภาพเป็นทุ่งหญ้าคาเสียส่วนใหญ่ บางแห่งมีหญ้าแขม หญ้าพง หญ้าขนตาช้างเลา และตองกง และยังมีกูดชนิดต่าง ๆ ขึ้นปะปนอยู่ด้วย เช่น โขนใหญ่ กูดปี้ด โขนผี กูดงอดแงด และกูดตีนกวาง
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าที่สามารถพบได้บ่อย ๆ และตามโอกาสอำนวย ได้แก่ เก้ง กวาง ตามทุ่งหญ้าทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ยังพบ ช้าง เสือโคร่ง กระทิง เลียงผา หมี เม่น ชะนี พญากระรอก หรือ หมาไม้ ชะมด อีเห็น กระต่ายป่า นกชนิดต่าง ๆ จำนวน 200 ชนิด จากจำนวนไม่น้อยกว่า 293 ชนิด ที่สำรวจพบอาศัยอยู่บริเวณป่าเขาใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งหาอาหารและที่อาศัยอย่างถาวร นกที่น่าสนใจและพบเห็นได้บ่อย ได้แก่ นกเงือก นกขุนทอง นกขุนแผน นกพญาไฟ นกแต้วแล้ว นกโพระดก นกแซงแซว นกเขา นกกระปูด ไก่ฟ้า และนกกินแมลงชนิดต่าง ๆ นกเงือกทั้ง 3 ชนิด ที่พบบนเขาใหญ่นับว่าเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชอบดูนกเป็นอย่างดี เพราะพบเห็นได้ทั่วไป พวกแมลงที่มีมากกว่า 5,000 ชนิด ที่สวยงามและพบเห็นบ่อย ได้แก่ ผีเสื้อที่มีรายงานพบกว่า 216 ชนิด
    อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีอาณาเขตครอบคลุม 11 อำเภอของ 4 จังหวัด คือ จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครนายก ได้รับสมญานามว่าเป็นอุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นป่าผืนใหญ่ตั้งอยู่ในเทือกเขาพนมดงรักในส่วนหนึ่งของดงพญาไฟหรือดงพญาเย็นในอดีต ประกอบด้วยขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนหลายลูก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำนครนายก แม่น้ำมูล อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า กวาง เก้ง กระทิง เสือ ตลอดจนมีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม มีเนื้อที่ 2,168.64 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,355,396.96 ไร่
    สภาพทั่ว ๆ ไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อนกันหลายลูก ได้แก่ เขาร่ม ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตร เขาแหลมสูง 1,326 เมตร เขาเขียวสูง 1,292 เมตร เขาสามยอดสูง 1,142 เมตร เขาฟ้าผ่าสูง 1,078 เมตร เขากำแพงสูง 875 เมตร เขาสมอปูนสูง 805 เมตร และเขาแก้วสูง 802 เมตร ซึ่งวัดความสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นเกณฑ์ และยังประกอบด้วยทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ด้านทิศเหนือและตะวันออกพื้นที่จะลาดลง ทางทิศใต้และตะวันตกเป็นที่สูงชันไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญถึง 5 สาย ดังนี้
    แม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำนครนายก ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตรกรรมและระบบทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ แม่น้ำทั้ง 2 สายนี้ มาบรรจบกันที่จังหวัดฉะเชิงเทรา กลายเป็นแม่น้ำบางปะกงแล้วไหลลงสู่อ่าวไทย
    แม่น้ำลำตะคองและแม่น้ำพระเพลิง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทางทิศเหนือ ไหลไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของที่ราบสูงโคราช ไปบรรจบกับแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของภาคอีสานตอนล่างไหลลงสู่แม่น้ำโขง
    ห้วยมวกเหล็ก ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งมีปริมาณน้ำไหลตลอดทั้งปีและ ให้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะการปศุสัตว์ของภูมิภาคนี้ ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอมวกเหล็ก
    สภาพป่ารกทึบได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทำให้เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล อากาศไม่ร้อนจัดและหนาวจัดจนเกินไป จัดอยู่ในประเภทเย็นสบายตลอดทั้งปี เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยวและประกอบกิจกรรมนันทนาการชนิดต่าง ๆ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส
    ฤดูร้อน แม้ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวในที่อื่น แต่ที่เขาสูงบนเขาใหญ่อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน และไม้ป่ามีดอกหลากสีบานสะพรั่งบ้างออกผลตามฤดูกาล
    ฤดูฝน เป็นช่วงหนึ่งของปีที่สภาพบนเขาใหญ่ชุ่มฉ่ำ ป่าไม้ทุ่งหญ้าเขียวขจีสดสวย น้ำตกทุกแห่งไหลแรงส่งเสียงดังก้องป่าให้ชีวิตชีวาแก่ผู้ไปเยือน แม้การเดินทางจะลำบากกว่าปกติแต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็ไม่ลดน้อยลงเลย
    ฤดูหนาว ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นฤดูที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเขาใหญ่มากที่สุด ท้องฟ้าสีครามแจ่มใสตัดกับสีเขียวขจีของป่าไม้ พยับหมอกที่ลอยเอื่อยไปตามทิวเขา ดวงอาทิตย์กลมโตอยู่เบื้องหน้าไกลโพ้น อากาศหนาวเย็นในเวลากลางคืน แต่รุ่งเช้าของวันใหม่เราจะพบกับธรรมชาติที่สวยงามแตกต่างไปจากเมื่อวานอีกแบบหนึ่งกิจกรรมเล่นแค้มป์ไฟ เหมาะสมในฤดูนี้มาก

    พิพิธภัณไม้กลายเป็นหิน

    กำเนิดของพิพิธภัณฑ์นั้น เริ่มจาก ดร. ปรีชา อุยตระกูล ร่วมกับหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา นำโดยนายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ ในเรื่อง  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโคราชในทศวรรษหน้าที่โรงแรมสีมาธานี เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2537 ผศ. ดร. ประเทือง  จินตสกุล หัวหน้าภาควิชาภูมิศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครราชสีมา ขณะนั้น เป็นผู้อภิปรายในที่ประชุม ได้เสนอสถานการณ์วิกฤติของซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน ในจังหวัดนครราชสีมา พร้อมทั้งโครงการอนุรักษ์ในรูปของอุทยาน และพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ผู้ว่าราชการจังหวัด นายสุพร สุภสร ซึ่งร่วมประชุมอยู่ด้วย ได้ประกาศในนามของจังหวัดและที่ประชุม ว่าพร้อมที่จะสนับสนุนการอนุรักษ์ตามโครงการดังกล่าว โดยต่อมาเมื่อ 11 เมษายน 2538 ได้อนุมัติงบประมาณ 1 ล้านบาท ให้กับ ผศ. ดร. สมศักดิ์ ทองงอก อธิการบดีสถาบันราชภัฏนครราชสีมา ในขณะนั้น เพื่อดำเนินการจัดทำแผนแม่บทการอนุรักษ์ และการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินขึ้น 

    พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินมีพื้นที่ 80 ไร่ ภายใต้งบประมาณการก่อสร้าง 150 ล้านบาท โดยการสนับสนุน ผลักดันหรืออนุมัติโดย ฯ พณ ฯ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในสมัยที่เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ โดยการประสานงานจากนายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รวมทั้งการสนับสนุนจากจังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานโยธาธิการจังหวัด กองทัพภาคที่ 2 ศูนย์ รพช. องค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี เป็นต้น
    ทั้งนี้ด้วยพระมาหากรุณาธิคุณ แห่งสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ได้ทรงให้การสนับสนุน และสนพระทัย นับแต่การเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการไม้กลายเป็นหิน ที่จัดแสดงโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2540 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพราะพระองค์ทรงตระหนักในคุณค่า และปรารถนาให้มีการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหิน รวมทั้งทรงติดตามการดำเนินงานโครงการนี้ตลอดมา
    พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ประกอบด้วย การจัดแสดงสามส่วนด้วยกัน คือ
    1.       พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน
    2.       พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์
    3.       พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์
    เปิดให้บริการทุกวันเว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. อัตราคาเข้าชมพิเศษเฉพาะปีนี้ ผู้ใหญ่ 30 บาท นักศึกษา 20 บาท (ปวส.-ป.ตรี) นักเรียนประถม – ปวช. 10 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท พระภิกษุ สามเณร คนพิการ ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ไม่เสียค่าเข้าชม


    ไม่น่าเชื่อเลยว่าบ้านเราเมืองเราจะมีพิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัยและให้ความรู้ได้อย่างดี รวมถึงมีความสำคัญต่อประเทศชาติ ประชาชนที่มีหลักฐานการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิศาสตร์ของโลก ได้ศึกษาและทำความเข้าใจอย่างใกล้ชิด อย่าช้าเลยที่จะต้องแวะเข้าไปชม สำหรับท่านที่เดินทางไปโคราช พลาดไม่ได้นะครับ อยู่ก่อนถึงตัวเมืองโคราช 16 กม. (กรณีที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ สายมิตรภาพ) กลับรถที่ สะพานกลับรถโคกกรวด (เลย ทางแยก อ.ขามทะเลสอ)  ถ้ามาจากนครราชสีมา ถนนมิตรภาพ ก็เลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าตลาดพันธ์ไม้ (จะมีป้ายบอกทาง) โคกกรวดได้เลยครับ ไปอีก 11 กม. อีกทางหนึ่งคือ ถ้ามาจากทาง 304 ปักธงชัย เลี้ยวซ้ายตรงทางเข้า ม. เทคโนโลยีสุรนารี (เลยแยกสวนสัตว์มาเล็กน้อย) ประมาณ 3 กม. ก็ถึงครับ





    ความรู้เบื้องต้นเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต

    อินเทอร์เนต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เกิดขึ้นจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ รวมกันเป็นระบบเครือข่ายใหญ่ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันทั่วโลก
    อินเทอร์เนตเกิดขึ้นได้อย่างไร
    รากฐานของอินเทอร์เนต เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากเครือข่าย ARPANET ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยทางการทหาร หลักจากนั้นระบบเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ก็ได้ทำการต่อเชื่อมและขยายแวดวงออกไปทั่วโลก ดังนั้นอินเทอร์เนตจึงไม่ได้เป็นของใครหรือของกลุ่มใดโดยเฉพาะ
    อินเทอร์เนตทำอะไรได้บ้าง ?
    เดิมทีการใช้บริการจำกัดให้ใช้ในด้านการศึกษาวิจัยและอยูในแวดวงการศึกษาเท่านั้น ต่อมาได้มีการขยายในเชิงธุรกิจมากขึ้น ทำให้ขอบข่ายการใช้ Internet มีมากมาย เช่น
    1. สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลก
    2. สามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล , ความคิดเห็น
    3. สามารถใช้ช่วยในการค้นหาและโอนย้าย Software ต่าง ๆ มาได้ฟรี
    4. สามารถค้นคว้าวิจัย เปรียบเหมือนคุณเข้าห้องสมุดไปศึกษาค้นคว้าหนังสือต่าง ๆ โดยที่ตัวคนเองไม่ต้องไปยังห้องสมุดนั้น
    5. สามารถอ่านข่าวสารของกลุ่มสนทนาต่าง ๆ
    6. สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์ , สวนสัตว์ เป็นต้น

    บริการต่าง ๆ ของอินเทอร์เนต
    1. ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail)
    เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เนตที่คนนิยมใช้กันมากคือส่งจดหมายโดยทางคอมพิวเตอร์ถึงผู้ที่มีบัญชีอินเทอร์เนต ด้วยกันไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลคนละซีกโลกจดหมายก็จะไปถึงอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายโปรแกรมที่ใช้ ในการรับ-ส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์นั้นมี หลายโปรแกรมด้วยกันแล้วแต่จะเลือก ใช้ตาม ความ ชอบหรือความถนัด โปรแกรมที่พูดถึงก็เช่น Eudora, Pine, Netscape Mail, Micorsoft Explorer และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นต้น
    2. World Wide Web (WWW)   เป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างหนึ่งที่กำลังเป็นที่ฮิตสุดบนอินเทอร์เนต ข้อมูลนี้จะอยู่ในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่านเข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียงแต่ท่านเลือกกดที่คำที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลก) Uniform Resource Locator (URL) คือที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูลเราต้องทราบที่อยู่ของ homepage หรือ URL ก่อน ตัวอย่างที่อยู่ของ homepage ของกลุ่มเซนต์จอห์นคือ ttp://www.stjohn.ac.th ส่วนโปรแกรมที่ช่วยให้เข้าสู่ข้อมูลที่อยู่บน WWW ได้ คือ Netscape และ Microsoft Explorer เป็นต้น
    3. FTP (File Transfer Protocol)    คือ บริการที่ใช้ในการโอนย้าย file หรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่ง ในเครือข่ายอินเทอร์เนตถ้าเครื่องนั้นๆต่อเข้ากับระบบที่เป็นอินเทอร์เนตก็สามารถโอนย้ายข้อมูลกันได้เครื่อง คอมพิวเตอร์บางที่นั้นจะทำหน้าที่ เป็นศูนย์รวมของข้อมูลต่าง ๆ เช่น รูปภาพ , ข้อความ , บทความ , คู่มือ และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เป็น Freeware หรือ Shareware เและเปิดให้เข้าไปโอนย้านมาได้ฟรี โปรแกรมที่จะช่วยในการโอนย้ายข้อมูล ก็เช่น Netscape, Telnet WSFTP เป็นต้น
     4.Telnet  เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นเสมือนหนึ่งไปนั่งใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของที่นั่น โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ได้คือ โปรแกรม NCSA Telnet เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วให้พิมพ์คำสั่ง Telnet ดังในรูปภาพข้างล่างเมื่อท่านใช้คำสั่ง Telnet แล้วให้พิมพ์ที่อยู๋ของแหล่งข้อมูลนั้น ท่านก็จะสามารถเข้าสู่ระบบข้อมูลนั้น ๆ ได้เสมือนท่านไปนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเครื่อง ๆ นั้นเลยทีเดียว ระบบ Telnet
    5. Usenet / News groups   เป็นบริการที่ช่วยให้ท่านเข้าสู่ข่าวสารข้อมูลของกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนปัญหาข้อสงสัยข่าวสารต่าง ๆ กลุ่มเหล่านี้จะมีสารพัดกลุ่มตามความสนใจ โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ คือ โปรแกรม Netscape News ที่อยู่ใน โปรแกรม Netscape Navigator Gold 3.0 เมือเปิดโปรแกรมดังกล่าว จากนั้นรายชื่อของกลุ่มสนทนาจะปรากฎขึ้นให้ท่านเลือกอ่านตามใจชอบ
    หากจะใช้ Internet ควรต้องมีอะไรบ้าง ?
    1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เนต การต่อเครื่องเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตนั้น ลักษณะการต่อจะขึ้นอยู่กับความเร็วของสายที่ต่อเชื่อม
    2. หากท่านต้องการใช้บริการอินเทอร์เนตจากที่บ้าน โดยการต่อคอมพิวเตอร์ที่บ้านให้เข้าสู่ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต ท่านต้องมี Modem (โมเด็ม) หรือตัวแปลงสัญญาณ โมเด็มจะเป็นตัวช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านรับข้อมูลจากอินเทอร์เนต ได้ความเร็วของ Modem ควรจะเป็นอย่างต่ำ 14.1 kbps หรือมากกว่านั้น (kilobyte per second = อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล)
    3. หากท่านใช้บริการอินเทอร์เนตจากที่ทำงาน มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน สำหรับหน่วยงานใหญ่ ๆ มักจะมีการต่อเชื่อมเข้ากับระบบอินเทอร์เนตด้วยการใช้สายเช่า ซึ่งมีความเร็วในการส่งสัญญาณสูงแทนโมเด็ม และจะต้องมีโปรแกรมที่ช่วยให้ท่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เนต ขึ้นอยู่กับว่าท่านจะเลือกใช้บริการอะไร ตัวอย่างเช่น หารกจะใช้ E-Mail (Electronic Mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โปแกรมที่จะใช้ได้ เช่น Pine , Eudora , Netscape Mail, Microsoft Explorer แต่ถ้าจะใช้ WWW ก็ต้องใช้โปรแกรม Netscape เป็นต้น
    4. Internet Account ท่านต้องเปิดบัญชีอินเทอร์เนต เหมือนกับต้องจดทะเบียนมีชื่อและที่อยู่บนอินเทอร์เนต เพื่อที่ว่าเวลาติดต่อสื่อสารกับใครบนอินเทอร์เนต จะได้มีข้อมูลส่งกลับมาหาท่านได้ถูกที่
    มารยาทในการใช้อินเตอร์เนต (Netiguette)
    การใช้อักษรพิมพ์ตัวใหญ่หมดทุกตัวในการเขียนจดหมายจะเป็นเสมือนการตะโกน ดังนั้นควรเลือกใช้ตัวอักษรให้เหมาะสม
    ไม่ควรใช้อารมณ์ในการตอบโต้ และควรรักษามารยาทโดยใช้คำที่สุภาพ
    ไม่มีความลับใด ๆ บน Internet ให้นึกเสมอว่าข้อความของเราจะมีคนอ่านมากมายเมื่อเขียนไปแล้วไม่สามารถลบล้างได้
    โทษของอินเทอเน็ต
     โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic)
    อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
    หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
    1. รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
    2. มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
    3. ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
    4. รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
    5. ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
    6. หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
    7. การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
    8. มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
    9. ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
     สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
     เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
    เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สือ่เหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
     
     

    ประวัติและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต (เบื้องต้น)

    ประวัติและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต (เบื้องต้น)

    ทุกคนรู้จักใช้อินเทอร์เน็ตแต่อาจยังไม่ทราบถึงประวัติและที่มาของสื่อไร้พรมแดนว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เรามาทำความรูจักกับอินเทอร์เน็ตกันดีกว่า (ยึดถือสุภาษิต รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหามกัน) ที่มาที่ไปของอินเทอร์เน็ต

    อินเทอร์เน็ตเริ่มใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) เมื่อหน่วยงานวิจัยชั้นสูง หรือ อาร์พา (ARPA: Advance Research Project Agency) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา นำเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ มาเชื่อมโยงต่อกันเพื่อใช้สนับสนุนงานทางทหาร และเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลที่อาจถูกทำลายในสภาวะสงคราม อันเป็นผลสืบเนื่องของความตึงเครียดทางการเมืองของโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตยในขณะนั้น โดยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะสามารถเรียกดูข้อมูลและแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้ และเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ว่า อาร์พาเน็ต (ARPAnet)

    อาร์พาเน็ตในช่วงแรก ๆ วางเครือข่ายด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงไม่กี่เครื่อง ผู้ใช้เป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กับทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ต่อมาเมื่อเครือข่ายได้รับการพัฒนาและวางเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น กลุ่มประชาชนเริ่มให้ความสนใจและใช้อาร์พาเน็ตเพื่อความบันเทิงในชีวิตประจำวัน เช่น การพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นและเล่นเกมส์ต่าง ๆ

    ด้วยการพัฒนาระบบที่รุดหน้าอย่างรวดเร็ว มีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังทวีปยุโรป เช่นการวางเครือข่ายในประเทศอังกฤษและนอร์เวย์ ปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ.2516)

                       

    ในปี ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2517) หน่วยงานที่ดูแลับผิดชอบอาร์พาเน็ตได้มีการปรับปรุงอีกครั้งและเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น ดาร์พา (DARPA: Defense Advance Research Project Agency) และโอนหน้าที่ทั้งหมดให้กับ หน่วยงานสื่อสารของกองทัพอเมริกา หรือ DCA (Defense Communications Agency) และอาร์พาเน็ตได้รับการพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง โดยแบ่งเครือข่ายออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกทำหน้าที่เครือข่ายด้านงานวิจัย ยังใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเช่นเดิม อีกส่วนใช้เป็นเครือข่ายของกองทัพ เรียกว่า มิลเน็ต (MILNET: Military Network) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อด้วยโปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol)

                         

    และในทศวรรษที่ 1980 ประเทศสหัฐอเมริกาได้จัดตั้งกองทุนวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้น หรือที่เรียกว่า กองทุนเอ็นเอสเอฟ ขึ้น (NSF: National Science Foundation) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนวิจัยด้านเครือข่าย และ ได้ออกทุนสร้างเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ให้กับผู้ที่ต้องการค้นคว้างานด้านการศึกษาได้ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน แต่เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ดังกล่าวไม่สามารถรองรับข้อมูลในจำนวนมาก ๆ ได้ จึงมีการสร้างระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นสามารถรองรับข้อมูลได้มากกว่าอาร์พาเน็ต มีชื่อว่า เอ็นเอสเอฟเน็ต (NSFNet) จากนั้นได้ทำการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างอาร์พาเน็ต เอ็นเอสเอฟเน็ต และระบบเครือข่ายอื่น ๆ เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่จนมีชื่อเรียกการเชื่อมโยงนี้ในที่สุดว่า อินเทอร์เน็ต

             

    สำหรับในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในช่วงปี พ.ศ. 2530 – 2535 โดยเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานในระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) ปรากฏใช้ครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ซึ่งเชื่อมระบบมาจากประเทศออสเตรเลีย

    การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำเร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2535 และได้มีการเปิดใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538
                        

    ปมหลังและที่มาที่ไปของคดียุบพรรคการเมือง

    เมื่อสังคมถูกแบ่งค่ายแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน การแยกเขี้ยวขู่คำรามเข้าใส่กันจนถึงขั้นจะนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่เหตุการณ์นองเลือด ทำให้กองทัพภายใต้การนำของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ต้องออกมาขยับเส้นสาย ขนกำลังเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 พร้อมฉีกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ทิ้ง ในโอกาสนั้นได้สั่งยุบ ศาลรัฐธรรมนูญ ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 20 ก.ย. 2549 ไปในคราวเดียวกัน

    จากนั้นมีการแต่งตั้ง คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาทำหน้าที่แทน ประกอบด้วย นายปัญญา ถนอมรอด ประธานศาลฎีกาเป็นประธานคณะตุลาการฯ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นรองประธานคณะตุลาการฯ หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ นายสมชาย พงษธา นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ นายธานิศ เกศวพิทักษ์ นายนุรักษ์ มาประณีต นายจรัญ หัตถกรรม และ นายวิชัย ชื่นชมพูนุท เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ พร้อมออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 ก.ย. 2549 ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญทำหน้าที่มีคำสั่งให้พิจารณาคดียุบพรรคการเมือง

    ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 โดยเฉพาะข้อ 3 ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใด เพราะเหตุกระทำการต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นมีกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรค

    นับว่าเป็นการเพิ่มโทษที่มีการจับกลุ่มซุบซิบกันว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ที่แปรสภาพมาจาก คปค. มองไกลไปถึงการล้างเผ่าพันธุ์ “นักเลือกตั้ง” ไม่หวังให้โงหัวขึ้นมาลงสนามการเมืองได้อีก เพราะเดิมในมาตรา 69 ของพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ระบุว่า ภายใน 5 ปีกรรมการบริหารที่ถูกยุบพรรคจะไปขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารของพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมในการขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีกไม่ได้ ซึ่งเดิมยังมีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ธรรมดาได้ ทำให้ 2 พรรคการเมืองใหญ่ จึงหนีตายกันอย่างสุดตัวในคดียุบพรรค

    ก๊วนแกงโฮะอย่าง พรรคไทยรักไทย ที่มีคณะกรรมการบริหารพรรคเหลืออยู่ 118 ชีวิต ต้องดิ้นสู้เพื่อหนีข้อกล่าวหาคิดเล่นทางลัดจ้างผู้สมัครจาก พรรคพัฒนาชาติไทย และ พรรคแผ่นดินไทย ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้มีตัวประกบหวังหนีเกณฑ์คะแนน 20% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตที่ต้องลงสมัครรับเลือกตั้งเพียงรายเดียว โดยตั้งทีมกฎหมายที่ระดมมือกฎหมายระดับเซียนเพื่อหาช่องสู้คดีนี้ ประกอบด้วย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตผู้พิพากษาเก่า และอดีตรมว.ยุติธรรม มาเป็นประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย ส่วนทีมงานมี นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล นายชูศักดิ์ ศิรินิล นายประสพ บุษราคัม นายสุรชัย เบ้าจรรยา นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ และนายพีระพันธุ์ พาลุสุข โดยมี นายสมศักดิ์ โตรักษา เป็นทนายความ

    พรรคไทยรักไทย ได้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์โดยชี้ให้เห็นถึงขบวนการล้มล้างการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2549 ที่อดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรค คว่ำบาตรไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งซึ่งมีการอ้างเหตุผลว่าพรรคไทยรักไทยเอาเปรียบทางการเมือง พร้อมกับในช่วงนั้นพรรคประชาธิปัตย์มีการชูธงนำเสนอประเด็นของ ม.7 ตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 จะขอนายกฯพระราชทานเพื่อแก้ไขวิกฤติบ้านเมือง ซึ่งพรรคไทยรักไทยกล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย

    คำร้องถูกล็อกเป้าไปที่ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล กรรมการบริหารพรรค ว่าเป็นผู้รู้เห็นให้มีการจ้างผู้สมัครจากพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง และมีการระบุว่ามีการเข้ารับค่าเหนื่อย 5 หมื่นบาทที่ห้องทำงานของ พล.อ.ธรรมรักษ์ ในกระทรวงกลาโหม มีคนระดับนายพลเป็นผู้ประสานงานการจ่ายเงินให้กับแกนนำของพรรคไม้ประดับ โดยฝ่ายตรงข้ามล้วงตับนำ “ความลับ” เป็นภาพจากโทรทัศน์วงจรปิดในกระทรวงกลาโหม มาเป็นหลักฐานเพื่อชี้ให้เห็นว่ามีการเข้าพบเพื่อรับเงินจริง และยังมีการโชว์ให้สื่อมวลชนได้ชมอย่างครึกโครม

    ต่อมาทางพรรคไทยรักไทยได้นำเทปบันทึกภาพจากกล้องตัวเดียวกันมาแสดงเพื่อหักล้างข้อกล่าวหา ยืนยันว่าตัวแทนจากพรรคเล็กไม่มีการเข้าพบ พล.อ.ธรรมรักษ์ แต่อย่างใด และพยายามทำให้เห็นว่าเรื่องนี้เป็นการใส่ร้าย สร้างหลักฐานขึ้นมาปรักปรำ พร้อมกันนี้ทางพรรคมีการย้ำอย่างต่อเนื่องว่า พ.ต.ท.ทักษิณ บอกในการประชุมพรรคทุกครั้งว่า ห้ามสมาชิกพรรคไปทำอะไรที่ผิดกฎหมาย และยืนยันว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค ไทยรักไทยไม่มีมติให้มีการไปจ้างพรรคเล็กมาลงสมัครประกบ เพื่อให้ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งในเขตที่ลงเดี่ยว

    ทั้งนี้ พรรคไทยรักไทย ยังไม่อ่อนข้อง่าย ๆ ได้งัดข้อกฎหมายเข้าสู้ ด้วยประเด็นการที่ประกาศฉีกรัฐธรรมนูญปี 2540 โดยอ้างว่าเป็นผลให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับซึ่งออกตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 และ พ.ร.บ.เลือกตั้ง สิ้นสุดลงไปด้วย แม้ต่อมาจะมีประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 ก.ย. 2549 ออกมาให้บังคับใช้ พ.ร.บ. พรรคการเมืองต่อไป แต่พรรคไทยรักไทยอ้างว่าเมื่อนำมาประกาศใช้ใหม่ก็ให้ถือมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้คือวันที่ 30 ก.ย. 2549 เป็นต้นไป จะไปย้อนหลังไม่ได้ตามหลักกฎหมายสากล

    ส่วนค่ายสะตอ พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ที่ไม่ได้มีชื่ออยู่ในคณะกรรมการบริหารพรรค 49 คน กุมบังเหียนเป็นแม่ทัพนำทีมขึ้นสู้คดี นั่งเป็นประธานคณะผู้ว่าคดีพรรคประชาธิปัตย์ และได้ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองประธานสภาที่ปรึกษาพรรค เป็นประธานคณะทำงานเตรียมสำนวนคดี ส่วนคณะผู้ว่าคดี ประกอบด้วย นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง นายถาวร เสนเนียม และนาย นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นอกจากนี้ยังมีคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น นายวิทยา แก้วภราดัย นายวิรัช ร่มเย็น นายวิรัตน์ กัลยาศิริ นายทศพล เพ็งส้ม นางภัทรมน เพ็งส้ม นายไพบูลย์ โพธิ์น้อย และ น.ส.อัครวรรณ เจริญผล ร่วมผนึกกำลังเข้าสู้อย่างเต็มที่แต่ละคนล้วนแต่เป็นมือกฎหมายชนิดเซียนเรียกพี่ก็ว่าได้

    พรรคประชาธิปัตย์ มี 4 ข้อกล่าวหาที่อัยการยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามคำร้องของ นายวิชิต และ ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และพวกยื่นคำร้องต่อกกต. เพื่อให้ฟ้องพรรคประชาธิปัตย์ใน 6 ข้อหา ภายหลังกกต.ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณาส่งฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ในที่สุดตัดเหลือเพียง 4 ข้อหา ประกอบ ด้วย 1. การที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ปราศรัยใส่ร้าย “ระบอบทักษิณ” 2. การย้อมแมวส่งคนไปเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าแล้วลง ส.ส.ที่ จ.ตรัง ทั้งที่เป็นสมาชิกพรรคไม่ถึง 90 วัน ก่อนย้อนมาใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยว่าจ้างลงเลือกตั้ง 3. มีการว่าจ้างให้แถลงข่าวใส่ร้าย นายสุวัจน์ ลิปต พัลลภ กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ว่าเป็นผู้ว่าจ้างสมาชิกพรรคชีวิตที่ดีกว่าลงเลือกตั้ง และ 4. มีการขัดขวางการสมัคร ส.ส. ที่ จ.สงขลา

    แนวทางการสู้คดีชัดเจนว่า ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ในเรื่อง “ระบอบทักษิณ” พรรคประชาธิปัตย์พยายามชี้ให้เห็นถึงการเข้ามาบริหารประเทศภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ทำลายระบอบ ประชาธิปไตย แทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ สื่อมวลชน รวมไปถึงได้สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยเฉพาะ “ทักษิณ...ออกไป” และ “ทักษิณสู้ ๆ” ยิ่งทำให้เห็นรอยแยกที่ยิ่งร้าวลึกลงไปในทุกหย่อมหญ้าในสังคม ส่วนการส่งคนไปสมัครในนามพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าแล้วมาใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ทางพรรคประชาธิปัตย์ โดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค ปฏิเสธไม่รู้จักกับ นายทักษะนัย กี่สุ้น อดีตผู้ช่วยของ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีต ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และคนที่นายทักษะนัย พามาพบเนื่องจากมีปัญหาการลงรับสมัครจึงอยากให้ช่วย

    พร้อมกันนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ยังปฏิเสธการเคลื่อนไหวของ นายไทกร พลสุวรรณ แกนนำอีสานกู้ชาติ โดยพยายามชี้ให้เห็นว่าเป็นการเคลื่อนไหวอิสระเพื่อต่อต้านระบอบทักษิณ ส่วนเรื่องสุดท้าย ตามข้อกล่าวหา มีการชี้แจงว่าทางพรรคไม่ได้เข้าไปขัดขวาง แต่ผู้สมัครบางรายมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ เอกสาร จึงทำให้ไม่สามารถสมัครได้ ไม่ใช่เป็นการไปอยู่เบื้องหลังจัดคนไปขัดขวาง ซึ่งมีการโยงไปว่าเป็นอดีตคนใกล้ชิดของ ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี แกนนำคนสำคัญของพรรคเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง แต่ ดร.ไตรรงค์ ปฏิเสธว่า ไม่ได้ใกล้ชิดกันมาเป็นสิบปีแล้ว และไม่รู้เรื่อง

    อย่างไรก็ตาม การสู้คดีของพรรคประชาธิปัตย์มีปัญหาต้องมาสะดุดไม่แพ้กับทางพรรคไทยรักไทยที่ต้องพยายามชี้แจงเรื่องภาพจากวงจรปิดในกระทรวงกลาโหมให้กระจ่างชนิดที่เรียกว่าแลกกันหมัดต่อหมัด คือ กรณี นางฐัติมา ภาวะลี ผู้สมัครจากพรรคแผ่นดินไทย ที่นายสุเทพนำวิดีโอมาเปิดคำบันทึกภาพและเสียง ว่ามีระดับนายพลที่ใกล้ชิดพรรคไทยรักไทย นำเงินมาว่าจ้างให้จัดคนลงสมัครในพื้นที่ภาคใต้ ด้วยความหวาดกลัวอิทธิพลจึงมาขอพักอาศัยที่บ้านพักใน จ.สุราษฎร์ธานี ของนายสุเทพ แต่ปรากฏว่าภายหลังราวกับนิยายหักเหลี่ยมเฉือนคม เมื่อน้องสาวนางฐัติมากลับเข้าแจ้งความกล่าวหาว่าพี่สาวถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าช่วยเหลือ พร้อมการนำเสนอข้อมูลออกมาที่ไปคนละทางกับนายสุเทพในเวลาต่อมา

    สำหรับการไต่สวนพยานในกลุ่มที่ 1 ที่ต้องการให้ยุบ พรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และ พรรคแผ่นดินไทย มีการไต่สวนรวม 14 นัด โดยนัดไต่สวนทุกวันอังคาร เวลา 10.00 น. เริ่มนัดแรกเมื่อวันอังคารที่ 16 ม.ค. 2550 ผู้ถูกร้อง 7 นัด พยานฝ่ายผู้ร้อง 7 นัด ซึ่งในการนัดไต่สวนพยานฝ่ายผู้ถูกร้องนัดแรกนั้นมีชื่อของ พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นพยานคนแรก ขณะนั้นมีการตั้งข้อสังเกตกันว่าจะใช้วิธีใดในการนัดไต่สวน จะต้องให้ พ.ต.ท. ทักษิณ มาขึ้นศาลหรือไม่ หรือจะใช้ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ในที่สุดก็จบด้วยวิธีการส่งเอกสารคำเบิกความเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญกำหนดยื่นแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือเมื่อวันพุธที่ 2 พ.ค. และนัดฟังคำวินิจฉัยใน วันพุธที่ 30 พ.ค. เวลา 14.30 น.

    การไต่สวนพยานกลุ่มที่ 2 พรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า มีทั้งสิ้น 12 ครั้ง เป็นผู้ร้อง 7 นัด เป็นผู้ถูกร้อง 5 นัด โดยนัดแรกเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2550 นัดฟังคำวินิจฉัยในวันเดียวกัน แต่เร็วกว่าพรรคไทยรักไทย 1 ชั่วโมง คือ กลุ่มที่ 2 จะนัดฟังคำวินิจฉัยในเวลา 13.30 น.

    การต่อสู้ในชั้นศาลที่ดำเนินมากว่า 2 เดือน จะมาถึงตอนจบที่หน้าประวัติศาสตร์การเมืองจะต้องจารึกเรื่องราวครั้งนี้ลงไปอีกคำรบ คำวินิจฉัยบนความถูกต้องที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 30 พ.ค.นี้ จะเป็นทางแยกสำคัญอีกครั้งหนึ่ง ส่วนจะออกมาในรูปแบบใด จะออกหน้าไหน ยุบ-ไม่ยุบ ใครจะว่างงานกันบ้าง ติดตามได้ในวันถัดไป.

     

    ส่อแวว กกต.หน้าแตก! คดียุบพรรคประชาธิปัตย์

     เมื่อวันที่ 12 เมษายน นายคมสัน โพธิ์คง อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเสียงข้างมากยุบพรรคประชาธิปัตย์ ว่า การที่ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง มีมติให้ยกคำร้องในประเด็นเงินบริจาค 258 ล้านบาท แล้วที่ประชุมยังมีมติเสียงข้างมากให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น เห็นว่าเป็นการวินิจฉัยที่แปลกประหลาดและผิดพลาดของ กกต. เพราะเมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นให้ยกคำร้องแล้วก็จะต้องจบที่นายทะเบียนพรรคการเมือง ตามมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.พรรคการเมือง

              "แต่หากเห็นว่าควรให้ยุบพรรคถึงค่อยเสนอต่อที่ประชุม กกต. เพื่อขอความเห็นชอบในการแจ้งไปยังอัยการสูงสุด (อสส.) ดังนั้น เมื่อคดีถึงศาลรัฐธรรมนูญ กกต.หน้าแหกแน่ เรื่องนี้เป็นอำนาจนายทะเบียนพรรคการเมืองโดยตรง ไม่ใช่เรื่องที่นายอภิชาต จะมาเสนอต่อที่ประชุม กกต.ในประเด็นเงิน 258 ล้านบาท หากยกคำร้อง ผมมองว่าเรื่องนี้เป็นการเตะโด่งให้ออกจาก กกต. เพราะ กกต.ชุดนี้ปอดแหก ไม่พิจารณาตามตัวบทกฎหมาย" อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 กล่าว

              นายคมสัน กล่าวอีกว่า ท้ายที่สุดผมเชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะสามารถต่อสู้ในชั้นศาลได้ เพราะเรื่องนี้มีปัญหาในข้อกฎหมายที่ กกต.ได้วินิจฉัย และอยากเสนอให้มีการยื่นถอดถอน กกต. หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่ยืนตาม กกต.

              ขณะที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กรณีที่ กกต.มีมติให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน และไม่ได้ลิดรอนอำนาจของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรัฐมนตรี ที่จะแก้ไขวิกฤตของชาติ เนื่องจาก กกต.จะต้องส่งเรื่องไปให้อัยการสูงสุด หากอัยการสูงสุดเห็นชอบก็จะยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งขั้นตอนกว่าจะถึงวันพิพากษาจะใช้เวลาในกระบวนการทั้งหมดประมาณ 8-9 เดือน ฉะนั้น ประชาชนที่กำลังห่วงใยนายกรัฐมนตรี ตนอยากบอกให้ทราบว่าไม่ต้องกังวลใจ เพราะนายกรัฐมนตรีได้ประกาศแล้วว่าตั้งใจที่จะยุบสภาในอีก 9 เดือนข้างหน้า กว่าคดียุบพรรคจะถึงที่สุดก็พอ ๆ กัน ไม่คิดว่าจะเป็นปัญหาอะไร