วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการแข่งขันฟุตบอลนานาชาติยุคก่อน

ประวัติ

การแข่งขันฟุตบอลนานาชาติยุคก่อน

นัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศเกิดขึ้นครั้งแรก ในการแข่งขันที่กลาสโกว์ ในปี ค.ศ. 1872 ระหว่างสก็อตแลนด์กับอังกฤษ[2] และในการแข่งขันชิงชนะเลิศระหว่างประเทศครั้งแรกที่ชื่อ บริติชโฮมแชมเปียนชิป ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1884[3] กีฬาฟุตบอลเติบโตในส่วนอื่นของโลกนอกเหนือจากอังกฤษในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ มีการแนะนำกีฬาและแข่งขันประเภทนี้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1900 และ 1904 และที่กีฬาโอลิมปิกซ้อน 1906[4]
หลังจากที่สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ หรือฟีฟ่า ได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1904 ได้มีการพยายามชัดการแข่งขันฟุตบอลชิงชนะเลิศระหว่างประเทศ นอกเหนือจากประเทศที่เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ปี 1906 ที่สวิตเซอร์แลนด์ ถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศในยุคแรก ๆ แต่ประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของฟีฟ่าอธิบายว่าการแข่งขันนั้นล้มเหลวไป[5]
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 ในกรุงลอนดอน ฟุตบอลถือเป็นหนึ่งในกีฬาที่แข่งขันอย่างเป็นทางการ จัดขึ้นโดยสมาคมฟุตบอล อังกฤษได้ดูแลในการจัดการแข่งขัน โดยผู้แข่งขันเป็นมือสมัครเล่นเท่านั้นและดูเป็นการแสดงมากกว่าการแข่งขัน โดยบริเตนใหญ่ (แข่งขันโดยทีมฟุตบอลสมัครเล่นทีมชาติอังกฤษ) ได้รับเหรียญทองในการแข่งขัน ต่อมาในโอลิมปิกฤดูร้อน 1912 ที่สต็อกโฮล์มก็มีจัดขึ้นอีก โดยการแข่งขันจัดการโดยสมาคมฟุตบอลสวีเดน
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซึ่งแข่งขันฟุตบอลเฉพาะในทีมสมัครเล่น เซอร์โทมัส ลิปตันได้จัดการการแข่งขันที่ชื่อ การแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเซอร์โทมัสลิปตัน จัดขึ้นในตูรินในปี ค.ศ. 1909 เป็นการแข่งขันระหว่างสโมสร (ไม่ใช่ทีมชาติ) จากหลาย ๆ ประเทส บางทีมเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศ การแข่งขันครั้งนี้บางครั้งอาจเรียกว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก[6] มีทีมอาชีพเข้าแข่งขันจากทั้งในอิตาลี เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ แต่สมาคมฟุตบอลอังกฤษปฏิเสธที่จะร่วมในการแข่งขันและไม่ส่งทีมนักฟุตบอลอาชีพมาแข่ง ลิปตันเชิญสโมสรเวสต์อ็อกแลนด์ทาวน์ จากมณฑลเดอแรม เป็นตัวแทนของอังกฤษแทน ซึ่งสโมสรเวสต์อ็อกแลนด์ทาวน์ชนะการแข่งขันและกลับมารักษาแชมป์ในปี 1911 ได้สำเร็จ
ในปี ค.ศ. 1914 ฟีฟ่าได้จำแนกการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิกว่าเป็น "การแข่งขันชิงแชมป์สำหรับมือสมัครเล่น" และลงรับผิดชอบในการจัดการการแข่ง[7] และนี่เป็นการปูทางให้กับการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทวีปเป็นครั้งแรก โดยในโอลิมปิกฤดูร้อน 1920 ที่มีทีมแข่งขันอย่างอียิปต์และทีมจากยุโรปอีก 13 ทีม มีผู้ชนะคือทีมเบลเยี่ยม[8] ต่อมาทีมอุรุกวัย ชนะในการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิกในอีก 2 ครั้งถัดไปคือในปี ค.ศ. 1924 และ 1928 และในปี ค.ศ. 1924 ถือเป็นยุคที่ฟีฟ่าก้าวสู่ระดับมืออาชีพ
 
จากความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิก ฟีฟ่าพร้อมด้วยประธานที่ชื่อ จูลส์ ริเมต ได้ผลักดันอีกครั้งโดยเริ่มมองหาหนทางในการจัดการแข่งขันนอกเหนือการแข่งขันโอลิมปิก ในวันที่ 28 พฤษภ าคม ค.ศ. 1928 ที่ประชุมฟีฟ่าในอัมสเตอร์ดัมตัดสินใจทีจะจัดการแข่งขันด้วยตัวเอง[9] กับอุรุกวัย ที่เป็นแชมเปียนโลกอย่างเป็นทางการ 2 ครั้ง และเพื่อเฉลิมฉลอง 1 ศตวรรษแห่งอิสรภาพของอุรุกวัยในปี ค.ศ. 1930 ฟีฟ่าจะประกาศว่าอุรุกวัยเป็นประเทศเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก
สมาคมฟุตบอลของประเทศที่ได้รับการเลือก ได้รับการเชิญให้ส่งทีมมาร่วมแข่งขัน แต่เนื่องจากอุรุกวัยที่เป็นสถานที่จัดงาน นั่นหมายถึงระยะทางและค่าใช้จ่ายที่ต้องเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมาจากฝั่งยุโรปมา ซึ่งแท้จริงแล้ว ไม่มีประเทศไหนในยุโรปตอบตกลงว่าจะส่งทีมมาร่วม จนกระทั่ง 2 เดือนก่อนการแข่งขัน ในที่สุดริเมตจึงสามารถเชิญทีมจากเบลเยี่ยม, ฝรั่งเศส, โรมาเนีย และยูโกสลาเวีย มีทีมเข้าร่วมทั้งหมด 13 ทีม โดยมี 7 ทีมจากทวีปอเมริกาใต้, 4 ทีมจากยุโรป และ 2 ทีมจากอเมริกาเหนือ
2 นัดแรกของการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก จัดขึ้นในวันเดียวกันเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 ผู้ชนะคือทีมฝรั่งเศส และทีมสหรัฐอเมริกา ชนะเม็กซิโก 4–1 และเบลเยี่ยม 3–0 ตามลำดับ โดยผู้ทำประตูแรกในฟุตบอลโลกมาจากลุกแซง โลร็องต์ จากฝรั่งเศส[10] ในนัดตัดสินทีมชาติอุรุกวัยชนะทีมชาติอาร์เจนตินา 4–2 ต่อหน้าผู้ชม 93,000 คนทีเมืองมอนเตวิเดโอ ทีมอุรุกวัยจึงเป็นชาติแรกที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก[11]

ฟุตบอลโลกก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

หลังจากที่เกิดการแข่งขันฟุตบอลโลกขึ้นแล้ว ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1932 ที่จัดขึ้นที่เมืองลอสแอนเจลิส ก็ไม่ด้รวมการแข่งขันฟุตบอลเข้าไปด้วย เนื่องจากความไม่ได้รับความนิยมในกีฬาฟุตบอลในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่อเมริกันฟุตบอลได้รับความนิยมมากขึ้น ทางฟีฟ่าและคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ที่มีความคิดเห็นต่างกันในเรื่องผู้เล่นในฐานะ มือสมัครเล่น ดังนั้นจึงไม่มีการแข่งขันฟุตบอลในเกมนี้[12] แต่ต่อมาฟุตบอลในกลับมาในกีฬาโอลิมปิกใน โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 แต่ถูกลดความสำคัญลง เพราะความมีชื่อเสียงของฟุตบอลโลก
ประเด็นในการจัดการแข่งขันในช่วงแรกของฟุตบอลโลกที่เป็นความยากลำบากในการเดินทางข้ามทวีปและสงครามนั้น มีทีมจากอเมริกาใต้บางทีมยินดีที่จะเดินทางไปยุโรปในการแข่งขันในปี 1934 และ 1938 โดยทีมบราซิลเป็นทีมเดียวในอเมริกาใต้ที่เข้าแข่งขันทั้ง 2 ครั้งนี้ ส่วนการแข่งขันฟุตบอลโลก 1942 และ 1946 ได้มีการยกเลิกไปเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สองและพักจากผลกระทบของสงครามโลก

 ฟุตบอลโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ฟุตบอลโลก 1950 จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล เป็นครั้งแรกที่สหราชอาณาจักรเข้าร่วมการแข่งขัน ทีมสหราชอาณาจักรถอนตัวจากฟีฟ่าในปี ค.ศ. 1920 ที่ไม่พอใจในบางส่วนที่ต้องเล่นกับประเทศที่พวกเขาทำสงครามด้วย และบางส่วนเพื่อประท้วงด้านอิทธิพลและการบังคับจากต่างชาติ[13] แต่ก็กลับเข้ามาร่วมในปี ค.ศ. 1946 หลังจากได้รับคำเชื้อเชิญจากฟีฟ่า[14] การแข่งขัน ทีมแชมเปียนอย่างอุรุกวัยก็กลับเข้ามรร่วม หลังจากที่คว่ำบาลฟุตบอลโลกก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง โดยทีมอุรุกวัยชนะในการแข่งขันอีกครั้ง หลังจากที่ชนะประเทศเจ้าภาพบราซิล นัดการแข่งขันนี้เรียกว่า "มารากานาโซ" (โปรตุเกส: Maracanaço)
แผนที่ของทีมประเทศต่าง ๆ กับผลงานที่ดีที่สุด
ในการแข่งขันระหว่างปี ค.ศ. 1934 และ 1978 มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 16 ทีม ยกเว้นในปี ค.ศ. 1938 เมื่อออสเตรียรวมเข้ากับเยอรมนี หลังจากรอบคัดเลือก ทำให้มีทีมแข่งขันเหลือเพียง 15 ทีม และในปี ค.ศ. 1950 เมื่ออินเดีย สก็อตแลนด์ และตุรกี ถอนตัวจากการแข่งขัน ทำให้มีทีมร่วมแข่งขันเพียง 13 ทีม[15] ทีมที่เข้าร่วมแข่งขันส่วนใหญ่เป็นทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ มีส่วนน้อยจากอเมริกาเหนือ แอฟริกา เอเชียและโอเชียเนีย ทีมเหล่านี้มักจะแพ้อย่างง่ายดายกับทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1982 มีทีมนอกเหนือจากยุโรปและอเมริกาใต้ที่เข้าสอบรอบสุดท้าย คือ ทีมสหรัฐอเมริกา เข้ารอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1930, ทีมคิวบาเข้ารอบรองชนะเลิศใน ปี ค.ศ. 1938, ทีมเกาหลีเหนือ เข้าสู่รอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1966 และทีมเม็กซิโกเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1970ขยายเป็น 32 ทีม
การแข่งขันขยายเป็น 24 ทีมในปี ค.ศ. 1982[16] จากนั้นเป็น 32 ทีมในปี ค.ศ. 1998[17] ทำให้มีทีมจากแอฟริกา เอเชียและอเมริกาเหนือเข้ารอบมากขึ้น และในปีครั้งหลัง ๆ ทีมในภูมิภาคเหล่านี้ก็ประสบความสำเร็จมากขึ้น และสามารถติดในรอบรองชนะเลิศมากขึ้น ได้แก่ ทีมเม็กซิโก เข้าสู่รอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1986, ทีมแคเมรูน เข้าสู่รอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1990, ทีมเกาหลีเหนือได้อันดับ 4 ในปี ค.ศ. 2002, ขณะที่ทีมเซเนกัลและสหรัฐอเมริกา ทั้ง 2 ทีมเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 2002 และทีมกานา เข้าสู่รอบรองชนะเลิศในปี 2010 แต่ถึงอย่างไรก็ตามทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ก็ยังคงมีความโดดเด่นอยู่ เช่นในปี ค.ศ. 1998 และ 2006 ที่ทีมทั้งหมดในรอบรองชนะเลิศมาจากยุโรปและอเมริกาใต้
ในฟุตบอลโลก 2002 ในรอบคัดเลือก มีทีมเข้าร่วมคัดเลือก 200 ทีม และในฟุตบอลโลก 2006 มีทีมที่พยายามเข้าคัดเลือก 198 ทีม ขณะที่ในฟุตบอลโลก 2010 มีประเทศที่เข้าร่วมรอบคัดเลือก 204 ทีม ซึ่งถือเป็นสถิติเป็นปีที่มีประเทศเข้าคัดเลือกมากที่สุด[18]

 การแข่งขันอื่นของฟีฟ่า

ในการแข่งขันของฟุตบอลสำหรับผู้หญิง คือ ฟุตบอลโลกหญิง จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1991 ที่ประเทศจีน[19] ฟุตบอลโลกหญิงจะมีการแข่งขันที่เล็กกว่าฟุตบอลของผู้ชาย แต่กำลังเติบโตอยู่เรื่อย ๆ มีทีมเข้าร่วมแข่งขันในปี ค.ศ. 2007 อยู่ 120 ทีม มากกว่า 2 เท่าของในปี ค.ศ. 1991
กีฬาฟุตบอลนั้นได้มีอยู่ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนทุก ๆ ครั้ง ยกเว้นในปี ค.ศ. 1896 และ 1932 แตกต่างจากกีฬาประเทศอื่นซึ่งในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิก ทีมที่ร่วมแข่งจะไม่ใช่ทีมระดับสูงสุด จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1992 ที่แต่เดิมให้ผู้แข่งขันอายุ 23 ปีเข้าแข่งขัน แต่ก็อนุญาตให้มีผู้เล่นที่อายุมากกว่า 23 ปี จำนวน 3 คนของแต่ละทีม ลงแข่งขันได้[20] ส่วนฟุตบอลหญิงในโอลิมปิก แข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1996 เป็นการแข่งขันทีมชาติเต็มทีม ไม่มีจำกัดอายุ
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นก่อน 1 ปีที่จะมีการแข่งขันฟุตบอลโลก ในประเทศเจ้าภาพที่จะแข่งขัน เหมือนเป็นการอุ่นเครื่องฟุตบอลโลกที่จะมาถึง เป็นการแข่งขันระหว่างผู้ชนะเลิศจากแต่ละภูมิภาคทั่วโลก (เอเชียนคัพ แอฟริกันคัพ โกลด์คัพ โคปาอเมริกา เนชันส์คัพ และ ฟุตบอลยูโร) พร้อมทั้งทีมที่ชนะฟุตบอลโลกครั้งล่าสุดและทีมเจ้าภาพ[21]
ฟีฟ่าจะจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนระดับนานาชาติ (ฟุตบอลโลกเยาวชน ยู 20, ฟุตบอลโลกเยาวชน ยู 17, ฟุตบอลโลกหญิง ยู 20, ฟุตบอลโลกเยาวชน ยู 17, การแข่งขันฟุตบอลระหว่างสโมสร (ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ), และการแข่งขันฟุตบอลอื่นเช่น ฟุตซอล (ฟุตซอลชิงแชมป์โลก) และฟุตบอลชายหาด (ฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก)

ถ้วยรางวัล


แสตมป์จากเยอรมนี เป็นรูป ถ้วยฟีฟ่าเวิลด์คัป
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึง 1970 ถ้วยรางวัลชูลส์รีเมต์เป็นถ้วยที่มองให้แก่ผู้ชนะเลิสการแข่งขันฟุตบอลโลก เดิมทีเรียกง่ายๆ ว่า เวิลด์คัป (อังกฤษ: World Cup) หรือ คูปดูมอนด์ (ฝรั่งเศส: Coupe du Monde) แต่ในปี ค.ศ. 1946 ได้เปลี่ยนชื่อตามประธานฟีฟ่า ที่ชื่อ ชูลส์ รีเมต์ ที่ได้ริเริ่มการแข่งขันครั้งแรก และเมื่อในปี ค.ศ. 1970 เมื่อทีมบราซิลชนะการแข่งขันเป็นครั้งที่ 3 ได้ครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์จากการที่ได้แชมป์ 3 สมัย แต่ในปี ค.ศ. 1983 ถ้วยก้ได้ถูกขโมยไปและไม่มีใครได้เห็นอีกเลย[22]
หลังจากปี ค.ศ. 1970 ก็มีถ้วยรางวัลใหม่ ที่รู้จักในชื่อ ถ้วยฟีฟ่าเวิลด์คัป โดยผู้เชี่ยวชาญของฟีฟ่าที่มาจาก 7 ประเทศ ประเมินจากแบบ 53 แบบ จนสรุปที่ผลงานการออกแบบของนักออกแบบชาวอิตาลีที่ชื่อซิลวิโอ กาซซานิกา (Silvio Gazzaniga) ถ้วยรางวัลใหม่นี้มีความสูง 36 ซม. (14.2 นิ้ว) ทำจากทองคำ 18 กะรัต (75%) น้ำหนัก 6.175 กก. (13.6 ปอนด์) ฐานของถ้วยมีเส้น 2 ชั้นทำจากมรกต ในส่วนใต้ฐานของถ้วยรางวัลสลักปีและชื่อของทีมผู้ชนะเลิศฟุตบอลโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 ผู้ออกแบบอธิบายถ้วยรางวัลนี้ว่า "เส้นที่โดดเด่นจากฐาน ที่หมุนรอบนั้นได้ขยายเพื่อรองรับโลก จากแรงดึงที่เคลื่อนที่ที่โดดเด่นของในส่วนตัวของถ้วยของประติมากรรมนี้ ได้ช่วยให้รูปร่างนักกีฬาดูเคลื่อนไหวไปกับห้วงเวลาแห่งชัยชนะ"[23]
ชาติผู้ชนะไม่ได้กรรมสิทธิ์การครอบครัวถ้วยถาวร แต่ผู้ชนะฟุตบอลโลกจะเก็บถ้วยไว้จนกว่าจะถึงการแข่งขันครั้งต่อไป และจะได้ถ้วยจำลองจากทองผสมไปแทน[24]
ในปัจจุบัน สมาชิกทุกคน (ทั้งผู้เล่นและโค้ช) ของทีมใน 3 อันดับแรกจะได้รับเหรียญตรารูปถ้วยฟุตบอลโลก ผู้ชนะได้เหรียญทอง รองชนะเลิศได้เหรียญเงิน และที่ 3 ได้เหรียญทองแดง นอกจากนั้นในปี ค.ศ. 2002 มีการมอบเหรียญที่ 4 ให้ประเทศเจ้าภาพคือเกาหลีใต้ ก่อนหน้าการแข่งขันปี ค.ศ. 1978 จะมอบเหรียญให้กับ ผู้เล่นเพียง 11 คน ในนัดสุดท้ายของการแข่งขันรวมถึงนัดการแข่งขันชิงที่ 3 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ฟีฟ่าประกาศว่าสมาชิกทุกคนของทีมผู้ชนะในการแข่งขันฟุตบอลโลกระหว่างปี ค.ศ. 1930 และ 1974 จะได้รับรางวัลย้อนหลังเป็นเหรียญตรา[25][26][27]

 การแข่งขัน

ปีเจ้าภาพชิงชนะเลิศFIFA World Cupชิงอันดับ
ชนะเลิศผลการ
แข่งขัน
รองชนะเลิศอันดับ 3ผลการ
แข่งขัน
อันดับ 4
ฟุตบอลโลก 1930
(2473)
Flag of Uruguay.svg อุรุกวัยFlag of Uruguay.svg อุรุกวัย4 - 2Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินาไม่มีที่ 3 [28]
Flag of the United States.svg สหรัฐอเมริกา และ Naval Ensign of the Kingdom of Yugoslavia.svg ยูโกสลาเวีย
ฟุตบอลโลก 1934
(2477)
Flag of Italy.svg อิตาลีFlag of Italy.svg อิตาลี2 - 1
ต่อเวลา
Flag of the Czech Republic.svg เช็กโกสโลวาเกียFlag of the German Empire.svg เยอรมนี3 - 2Flag of Austria.svg ออสเตรีย
ฟุตบอลโลก 1938
(2481)
Flag of France.svg ฝรั่งเศสFlag of Italy.svg อิตาลี4 - 2Flag of Hungary.svg ฮังการีFlag of Brazil.svg บราซิล4 - 2Flag of Sweden.svg สวีเดน
พ.ศ. 2485 และ พ.ศ. 2489 ไม่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก เนื่องจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2
ฟุตบอลโลก 1950
(2493)
Flag of Brazil.svg บราซิลFlag of Uruguay.svg อุรุกวัย2 - 1[29]Flag of Brazil.svg บราซิลFlag of Sweden.svg สวีเดนไม่มีFlag of Spain.svg สเปน
ฟุตบอลโลก 1954
(2497)
Flag of Switzerland.svg สวิตเซอร์แลนด์Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก3 - 2Flag of Hungary.svg ฮังการีFlag of Austria.svg ออสเตรีย3 - 1Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย
ฟุตบอลโลก 1958
(2501)
Flag of Sweden.svg สวีเดนFlag of Brazil.svg บราซิล5 - 2Flag of Sweden.svg สวีเดนFlag of France.svg ฝรั่งเศส6 - 3Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก
ฟุตบอลโลก 1962
(2505)
Flag of Chile.svg ชิลีFlag of Brazil.svg บราซิล3 - 1Flag of the Czech Republic.svg เช็กโกสโลวาเกียFlag of Chile.svg ชิลี1 - 0Flag of SFR Yugoslavia.svg ยูโกสลาเวีย
ฟุตบอลโลก 1966
(2509)
Flag of England.svg อังกฤษFlag of England.svg อังกฤษ4 - 2
ต่อเวลา
Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตกFlag of Portugal.svg โปรตุเกส2 - 1Flag of the Soviet Union.svg โซเวียต
ฟุตบอลโลก 1970
(2513)
Flag of Mexico.svg เม็กซิโกFlag of Brazil.svg บราซิล4 - 1Flag of Italy.svg อิตาลีFlag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก1 - 0Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย
ฟุตบอลโลก 1974
(2517)
Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตกFlag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก2 - 1Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์Flag of Poland.svg โปแลนด์2 - 1Flag of Brazil.svg บราซิล
ฟุตบอลโลก 1978
(2521)
Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินาFlag of Argentina.svg อาร์เจนตินา3 - 1
ต่อเวลา
Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์Flag of Brazil.svg บราซิล2 - 1Flag of Italy.svg อิตาลี
ฟุตบอลโลก 1982
(2525)
Flag of Spain.svg สเปนFlag of Italy.svg อิตาลี3 - 1Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตกFlag of Poland.svg โปแลนด์3 - 2Flag of France.svg ฝรั่งเศส
ฟุตบอลโลก 1986
(2529)
Flag of Mexico.svg เม็กซิโกFlag of Argentina.svg อาร์เจนตินา3 - 2Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตกFlag of France.svg ฝรั่งเศส4 - 2
ต่อเวลา
Flag of Belgium.svg เบลเยียม
ฟุตบอลโลก 1990
(2533)
Flag of Italy.svg อิตาลีFlag of Germany.svgเยอรมนีตะวันตก1 - 0Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินาFlag of Italy.svg อิตาลี2 - 1Flag of England.svg อังกฤษ
ฟุตบอลโลก 1994
(2537)
Flag of the United States.svg สหรัฐอเมริกาFlag of Brazil.svg บราซิล0 - 0
(3 - 2)
(ลูกโทษ)
Flag of Italy.svg อิตาลีFlag of Sweden.svg สวีเดน4 - 0Flag of Bulgaria.svg บัลแกเรีย
ฟุตบอลโลก 1998
(2541)
Flag of France.svg ฝรั่งเศสFlag of France.svg ฝรั่งเศส3 - 0Flag of Brazil.svg บราซิลFlag of Croatia.svg โครเอเชีย2 - 1Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์
ฟุตบอลโลก 2002
(2545)
Flag of South Korea.svg เกาหลีใต้
และ Flag of Japan.svg ญี่ปุ่น
Flag of Brazil.svg บราซิล2 - 0Flag of Germany.svg เยอรมนีFlag of Turkey.svg ตุรกี3 - 2Flag of South Korea.svg เกาหลีใต้
ฟุตบอลโลก 2006
(2549)
Flag of Germany.svg เยอรมนีFlag of Italy.svg อิตาลี1 - 1
(5 - 3)
(ลูกโทษ)
Flag of France.svg ฝรั่งเศสFlag of Germany.svg เยอรมนี3 - 1Flag of Portugal.svg โปรตุเกส
ฟุตบอลโลก 2010
(2553)
Flag of South Africa.svg แอฟริกาใต้Flag of Spain.svg สเปน1-0
ต่อเวลา
Flag of Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์Flag of Germany.svg เยอรมนี3 - 2Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย
ฟุตบอลโลก 2014
(2557)
Flag of Brazil.svg บราซิล

ผู้ชนะเลิศฟุตบอลโลก


แผนที่แสดงความสำเร็จ ของฟุตบอลทีมชาติแต่ละประเทศ สีต่างๆ แสดงความสำเร็จของแต่ละประเทศ และจุดแสดงถึงได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ
  1. Flag of Brazil.svg ฟุตบอลทีมชาติบราซิล - 1958, 1962, 1970, 1994, 2002 (5 ครั้ง)
  2. Flag of Italy.svg ฟุตบอลทีมชาติอิตาลี - 1934, 1938, 1982, 2006 (4 ครั้ง)
  3. Flag of Germany.svg ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี - 1954, 1974, 1990 (3 ครั้ง)
  4. Flag of Argentina.svg ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา - 1978, 1986 (2 ครั้ง)
  5. Flag of Uruguay.svg ฟุตบอลทีมชาติอุรุกวัย - 1930, 1950 (2 ครั้ง)
  6. Flag of England.svg ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ - 1966 (1 ครั้ง)
  7. Flag of France.svg ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส - 1998 (1 ครั้ง)
  8. Flag of Spain.svg ฟุตบอลทีมชาติสเปน - 2010 (1 ครั้ง)


ความสำเร็จแบ่งตามทวีป

ทวีปผลงานที่ดีที่สุด
อเมริกาใต้ชนะเลิศ 9 ครั้ง โดย บราซิล อาร์เจนตินา อุรุกวัย
ยุโรปชนะเลิศ 10 ครั้ง โดย อิตาลี เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน
อเมริกาเหนือรอบรองชนะเลิศ สหรัฐอเมริกา (1930)
เอเชียรอบรองชนะเลิศ เกาหลีใต้ (2002)
แอฟริการอบก่อนรองชนะเลิศ แคเมอรูน (1990) เซเนกัล (2002) และ กานา (2010)
โอเชียเนียรอบ 16 ทีมสุดท้าย ออสเตรเลีย (2006)

ถิติสำคัญ


 ผู้เล่นทำประตูสูงสุดในฟุตบอลโลก

อันดับผู้เล่น, ทีมประตูที่ได้ทัวร์นาเมนต์ / เกมที่ลงเล่น
1โรนัลโด้, บราซิล154 ครั้ง 1994 1998 2002 2006 (18 นัด, ไม่ได้ลงเล่นใน 1994)
2เกิร์ด มุลเลอร์, เยอรมนี142 ครั้ง 1970 1974 (14 นัด)
2มิโรสลาฟ โคลเซ, เยอรมนี143 ครั้ง 2002 2006 2010 (14 นัด)
3ชุสต์ ฟงแตน, ฝรั่งเศส131 ครั้ง 1958 (6 นัด)
4เปเล่, บราซิล124 ครั้ง 1958 1962 1966 1970 (14 นัด)
5ซานดอร์ โคซ์ชิส, ฮังการี111 ครั้ง 1954 (5 นัด)
5เยอร์เกน คลินส์มัน, เยอรมนี113 ครั้ง 1990 1994 1998 (17 นัด)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น